1844 1901 1495 1679 1235 1801 1097 1558 1244 1728 1825 1214 1079 1508 1128 1322 1234 1962 1584 1427 1226 1886 1686 1851 1819 1775 1291 1108 1912 1372 1034 1011 1919 1999 1614 1322 1653 1162 1652 1268 1593 1113 1032 1255 1838 1984 1323 1141 1968 1745 1566 1422 1274 1557 1598 1396 1869 1074 1732 1845 1959 1442 1824 1523 1724 1373 1334 1508 1379 1534 1890 1168 1441 1659 1573 1743 1332 1812 1768 1947 1602 1781 1115 1545 1353 1472 1009 2000 1882 1623 1162 1986 1549 1650 1131 1808 1918 1671 1878 ประเด็นในคำอุทธรณ์คดีสมยศ พฤกษาเกษมสุข | Freedom of Expression Documentation Center | ศูนย์ข้อมูลกฎหมายและคดีเสรีภาพ

ประเด็นในคำอุทธรณ์คดีสมยศ พฤกษาเกษมสุข

 

วสันต์ พานิช
ทนายความในชั้นอุทธรณ์
 
 
บทเริ่มต้น  ควรเห็นใจสมยศในฐานะบรรณาธิการ  ที่มิได้เป็นผู้เขียนบทความเอง  แต่ต้องมารับผิด  มิเช่นนั้นในอนาคต  หากมีผู้อื่นไม่ว่าหมิ่นประมาทใคร  ผู้ที่ไม่ได้เขียนก็ต้องรับผิดในข้อหานี้เช่นกัน
 
ข้อกล่าวหาในคดีนี้คือ  จำเลยหมิ่นประมาท  ดูหมิ่น  และแสดงความอาฆาตมาดร้ายต่อองค์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่ภูมิพลอดุลยเดช ด้วยการจัดพิมพ์  จัดจำหน่าย  และเผยแพร่ นิตยสารเสียงทักษิณ [Voice Of  Taksin]  ต่อประชาชน   ทั้งในกรุงเทพมหานคร  และต่างจังหวัด  ทั่วราชอาณาจักร  รวม  ๒  ฉบับ  ได้แก่
 
1. ฉบับปีที่ ๑  เล่มที่  ๑๕  ปักษ์หลัง  กุมภาพันธ์  ๒๕๕๓  บทความ “คมความคิด” ของผู้ใช้นามปากกาว่า “จิตร พลจันทร์” เรื่อง “แผนนองเลือด กับยิงข้ามรุ่น” หน้าที่ ๔๕ – ๔๗ (จ.  ๒๔)
2. ฉบับปีที่ ๒  เล่มที่  ๑๖  ปักษ์แรก  มีนาคม  ๒๕๕๓  บทความ  “คมความคิด”   ของผู้ใช้นามปากกาว่า “จิตร  พลจันทร์” เช่นเดียวกัน  เรื่อง “๖ ตุลาแห่ง  พ.ศ.๒๕๕๓” หน้าที่ ๔๕ – ๔๗ (จ. ๒๕)
 
 
ประเด็นคำพิพากษาไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ
 
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๓๙ บัญญัติว่า
 
“บุคคลไม่ต้องรับโทษอาญา เว้นแต่ได้กระทำการอันกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำนั้น บัญญัติเป็นความผิด และกำหนดโทษไว้ และโทษที่จะลงแก่บุคคลนั้นจะหนักกว่าโทษที่กำหนดไว้ในกฎหมายที่ใช้อยู่ในเวลาที่กระทำความผิดมิได้”
 
เริ่มพิจารณาจาก พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.๒๔๘๔  คำว่า   “บรรณาธิการ”   ตามมาตรา ๔ บัญญัติว่า   “หมายความว่า  บุคคลซึ่งรับผิดชอบในการจัดทำ  ตรวจแก้  คัดเลือก  รวบรวม  ปรับปรุง  และรับผิดชอบเรื่องลงพิมพ์”   และตามพระราชบัญญัติการพิมพ์  พ.ศ.๒๔๘๔  มาตรา ๔๘  วรรค ๒  บัญญัติถึงบทกำหนดโทษของบรรณาธิการไว้ว่า  “ในกรณีแห่งหนังสือพิมพ์  ผู้ประพันธ์และบรรณาธิการต้องรับผิดเป็นตัวการ  และถ้าไม่ได้ตัวผู้ประพันธ์ก็ให้เอาโทษแก่ผู้พิมพ์เป็นตัวการด้วย”  
 
นอกจากนี้  ตามพจนานุกรม  ฉบับราชบัณฑิตยสถาน  ฉบับปี พ.ศ.๒๕๒๕ และฉบับปรับปรุงแก้ไขเพิ่มเติม พ.ศ.๒๕๔๒ ได้บัญญัติไว้ตรงกันว่า
 
“บรรณาธิการ”  “(นาม) คือ ผู้จัดเลือกเฟ้น รวบรวม ปรับปรุง และรับผิดชอบเรื่องลงพิมพ์” และ“(กฎหมาย) คือ “บุคคลที่รับผิดชอบในการจัดทำ ตรวจแก้ หรือควบคุมบทประพันธ์หรือสิ่งอื่นในหนังสือพิมพ์”
 
ต่อมา  เปลี่ยนเป็น  พระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์ พ.ศ. ๒๕๕๐ มาตรา ๓ ให้ยกเลิก
 
1. พระราชบัญญัติการพิมพ์  พ.ศ.๒๔๘๔ 
2. พระราชบัญญัติการพิมพ์  (ฉบับที่ ๒) พ.ศ.๒๔๘๕
3. พระราชบัญญัติการพิมพ์  (ฉบับที่ ๓) พ.ศ.๒๔๘๘
 
อนึ่ง  พระราชบัญญัติจดแจ้งการพิมพ์  พ.ศ.๒๕๕๐ มิได้กำหนดโทษบรรณาธิการไว้เหมือน พระราชบัญญัติการพิมพ์ พ.ศ.๒๔๘๔ ที่ต้องร่วมรับผิดทางอาญากับผู้เขียนหรือผู้ประพันธ์ อีกด้วย
 
คำเบิกความพยานโจทก์  ๖ ปาก  ทั้งเจ้าของโรงพิมพ์ และฝ่ายตลาด  ต่างเบิกความว่า งานพิมพ์เข้ามารีบเร่ง  พิมพ์ไม่ทัน ทั้งที่กำไรดี  โดยรับพิมพ์เพียง ๒ ฉบับเท่านั้น  ส่วนบรรดาผู้ร่วมงาน ต่างเบิกความว่า บทความเข้ามารีบเร่ง ไม่มีเวลาตรวจดู บางครั้งต้องค้างคืนที่สำนักงาน บางฉบับจัดพิมพ์เลย อีกทั้งบทความในนามปากกา “จิตร พลจันทร์”  มิได้ตรวจแก้ เพราะเป็นผู้มีชื่อเสียง และเป็นผู้เขียนบทความประจำลงมาหลายครั้งแล้ว ประกอบกับจำเลยเอง  มีภาระหน้าที่ในการเขียนบทความลงใน นิตยสารเสียงทักษิณ เช่นเดียวกัน โดยจำเลยเขียนในชื่อและนามสกุลจริง  และไม่เคยมีปัญหาว่าเป็นบทความที่เกี่ยวข้องหรือเชื่อมโยงกับสถาบันพระมหากษัตริย์  แต่อย่างใด  เช่น โดยเขียนก่อนเกิดเหตุและระหว่างเกิดเหตุ  รวม  ๑๑   บทความ  ซึ่งเป็นภาระที่หนักหนา  โดยไม่มีเวลาไปตรวจสอบบทความผู้อื่นอีก
 
 
ประเด็นการประกันตัวจำเลย
 
เหตุผลที่จำเลยอ้างในการขอประกันตัว
 
1. คดีนี้  ในที่สุดศาลคงมีคำพิพากษายกฟ้องโจทก์อย่างแน่นอน  ด้วยเหตุผลที่คำพิพากษาดังกล่าวไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญ  ตามที่ได้กล่าวมาแล้ว  และรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด  และตามมาตรา ๖  บัญญัติว่า  “รัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุดของประเทศ  บทบัญญัติใดของกฎหมาย  กฎหรือข้อบังคับ ขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญนี้  บทบัญญัตินั้นเป็นอันใช้บังคับไม่ได้”
 
2. การประกันตัวจำเลยจะกระทำได้หรือไม่ โดยอาศัยเงื่อนไขตามกฎหมาย กล่าวคือ 
 
  • จำเลยมีพฤติกรรมที่จะหลบหนีหรือไม่  จำเลยถูกจับกุมเมื่อวันที่  ๓๐ เมษายน ๒๕๕๔ ที่ด่านตรวจคนเข้าเมือง บริเวณด่านถาวรบ้านคลองลึก  อำเภออรัญประเทศ  จังหวัดสระแก้วโดยจำเลยถูกจับขณะพาลูกทัวร์ไปเที่ยวประเทศกัมพูชา  ไปในสภาพปกติ หลังจากถูกแจ้งจับมิได้แสดงอาการขัดขืนหรือหลบหนีแต่ประการใด  จำเลยถูกออกหมายจับโดยกรมสอบสวนคดีพิเศษ  โดยหมายจับของศาลอาญา  ฉบับลงวันที่  ๑๕ กุมภาพันธ์  ๒๕๕๔  เอกสารหมาย จ.๓๐   แต่ตามหนังสือเดินทางของจำเลยที่ใช้ประกอบการซักค้านพยานโจทก์  ปรากฏว่าจำเลยเดินทางไปกัมพูชาหลายครั้ง โดยครั้งสุดท้าย ๒๐ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๔  และกลับเข้าประเทศไทย  ๒๒ กุมภาพันธ์  ๒๕๕๔  ประกอบกับ เจ้าหน้าที่ดีเอสไอ. ได้เรียกบรรดาผู้ร่วมงานของจำเลย ไปสอบสวนก่อนหน้านี้  ซึ่งจำเลยก็ทราบดี  แต่จำเลยก็มิได้หลบหนีแต่ประการใด
  • ห้ามไปยุ่งเหยิงกับพยาน  คดีนี้สืบพยานเสร็จสิ้นแล้ว  พร้อมทั้งศาลมีคำพิพากษา จึงไม่อาจไปยุ่งเกี่ยวกับพยานได้ 
  • ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมืองและสิทธิทางการเมือง  ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีเมื่อวันที่ ๒๙ ตุลาคม  ๒๕๓๙  ข้อ ๙ ข้อ ๓ ย่อย บัญญัติว่า  “สิทธิในการได้รับการปล่อยตัว มิให้ถือเป็นการทั่วไปว่าจะต้องควบคุมบุคคลที่รอการพิจารณาคดี  แต่ในการปล่อยตัวอาจกำหนดให้มีการประกันว่า
- จะกลับมาปรากฏตัวในการพิจารณาคดี  
- ในขั้นตอนอื่นของการพิจารณา และ
- จะมาปรากฏตัว เพื่อการบังคับตามคำพิพากษา
 
ตามกติการะหว่างประเทศว่าด้วยสิทธิพลเมือง และสิทธิทางการเมือง  ใช้บังคับได้หรือไม่นั้น  ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.๒๕๕๐ มาตรา ๘๒   ส่วนที่ว่าด้วยนโยบายด้านต่างประเทศบัญญัติว่า  “ตลอดจนต้องปฏิบัติตามสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชน  ที่ประเทศไทยเป็นภาคี........”  ประเทศไทยเข้าเป็นภาคีสนธิสัญญาด้านสิทธิมนุษยชน ทั้งหมด ๗ ฉบับ  รวมทั้งกติการะหว่างประเทศที่กล่าวถึงด้วย  โดยฉบับสุดท้ายที่ประเทศไทยเข้าเป็นภาคี  คือ “อนุสัญญาว่าด้วยสิทธิของคนพิการ”  
 
  • โทษที่ร้ายแรง  จำเลยถูกศาลมีคำพิพากษาจำคุกเพียง ๑๐ ปีในคดีนี้  แต่คดีอื่น ๆ ที่สามารถเทียบเคียงกัน  กรณี เด็กชายถูกฆ่าและนำศพมาแขวนคอเพื่ออำพรางคดี  โดยศาลอาญามีคำพิพากษาให้ประหารชีวิต  ๓ นาย  และอีก ๒ นาย โทษจำไม่ได้  โดยจังหวัดดังกล่าวเป็นเมืองที่ถูกประชาสัมพันธ์ว่าเป็นเมืองปลอดอาชญากรรม  เด็กชายหญิงที่เป็นเยาวชน  กระทำความผิดครั้งแรก  ถูกจำคุกโดยคำพิพากษาของศาลเกือบทั้งหมด  จนกระทั่งมีแผนกคดีครอบครัวและเยาวชนจึงมีการเปลี่ยนแปลง  แต่เด็กเยาวชนเหล่านี้  หากกระทำความผิดครั้งที่สอง เสียชีวิต โดยหาตัวผู้กระทำความผิดมิได้  รวมทั้งนายเกียรติศักดิ์ ฯ ในคดีดังกล่าวด้วย  บางรายอ้างว่าได้รับการประกันตัว  แล้วสูญหายไป  รวมทั้งสิ้นประมาณ ๒๐ กว่าราย  แต่จำเลยทั้งหมดในคดีนายเกียรติศักดิ์ ฯ ทุกคนได้รับการประกันตัว  (เป็นสิ่งที่ดี แต่ต้องเท่าเทียมกันครับ)
  • จำเลยก่อนถูกจับกุมดำเนินคดีนี้  ได้รับการตรวจและรักษาพยาบาลที่  โรงพยาบาลบี. แคร์  เมดิคอลเซ็นเตอร์   ตั้งแต่ ๘ พฤษภาคม  ๒๕๔๙  จนถึงวันที่ ๕  เมษายน ๒๕๕๔  ด้วยโรคเกาท์  โรคความดันโลหิตสูง  และโรคไวรัสตับอักเสบบี  สมควรที่ได้รับการดูแลรักษาตลอดไป  
 
 
ประเด็นฎีกาคำสั่งศาลกรณีประกันตัว ว่าไม่ชอบด้วยรัฐธรรมนูญมาตรา ๔๐ (๒) หลักประกันขั้นพื้นฐาน และมาตรา ๔๐ (๗)
 
มาตรา ๔๐ (๒) แห่งรัฐธรรมนูญได้ประกันในเรื่องของ
1. การพิจารณาคดีโดยเปิดเผย
2. การได้รับทราบข้อเท็จจริงและตรวจเอกสารอย่างพอเพียง
3. การเสนอข้อเท็จจริง ข้อโต้แย้ง และพยานหลักฐานของตน
4. การคัดค้านผู้พิพากษาและตุลาการ
5. การได้รับการพิจารณาโดยผู้พิพากษาหรือตุลาการที่นั่งพิจารณาคดีครบองค์คณะ  และ
6. การได้รับทราบเหตุผลประกอบคำวินิจฉัย  คำพิพากษา หรือคำสั่ง
 
ส่วนมาตรา ๔๐ (๗) ประกันว่า ในคดีอาญา ผู้ต้องหาหรือจำเลยมีสิทธิได้รับการสอบสวน  หรือการพิจารณาคดีที่  ถูกต้อง รวดเร็ว และเป็นธรรม...............และการได้รับการปล่อยตัวชั่วคราว
 
 
 
 

 

Article type: